ข่าวทั่วไป

อพท.5 ลุ้นเชียงคาน เป็นเมือง TOP 100 เมืองท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนระดับโลก

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 63 นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (อพท.5) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง อพท.ได้ส่งแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ 2 แห่ง มีเทศบาลตำบลเชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย และตำบลในเมือง อ.เมืองน่าน จ.น่าน เพื่อเข้าชิงรางวัล Sustainable Destinations Top 100 หรือ Top 100 ซึ่งเป็นการชี้วัดแหล่งท่องเที่ยว ที่แสดงถึงความสำเร็จจากผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน

จากแนวความคิดการจัดอันดับ Sustainable Destinations Top 100 เกิดขึ้นจากความต้องการรับผิดชอบต่อภาคการท่องเที่ยว ของคณะผู้จัดงานมหกรรมท่องเที่ยวนานาชาติ ITB จากเดิมผ่านมาการท่องเที่ยวจะมุ่งแต่การเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว และรายได้จนลืมนึกถึงความยั่งยืน จึงได้มีหน่วยงานที่มีชื่อ ว่า Green Destinations Foundation ประเทศเนเธอแลนด์  ซึ่งในแต่ละปีที่มีการจัดงาน ITB หาแหล่งท่องเที่ยวที่มีการจัดการที่ดีและมีความยั่งยืน จึงมีการกันกำหนดเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 30 ข้อใน 6 หมวด ได้แก่ การจัดการแหล่งท่องเที่ยว ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและทิวทัศน์ ด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ด้านความเป็นอยู่ทางสังคม ด้านธุรกิจและการให้บริการ โดยแหล่งท่องเที่ยวที่จะได้รับการจัดอันดับต้อง ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 15 ข้อ โดยจะประกาศผู้ได้รับ รางวัล Top 100 ในงาน ITB กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

และในส่วนของเชียงคาน ทาง อพท. 5 เราได้นำเอกสารส่งเข้าผ่านเกณฑ์ใน 15 ข้อเรียบร้อยแล้ว และเอกสารผ่านการตรวจเรียบร้อย ในขณะนี้รอการผลการประกาศที่จะประกาศในวันที่ 6 ตุลาคม เชียงคานและน่าน จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก 1 ใน 100 เมือง ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และเราคาดว่า ที่เราส่งไป ทั้งเชียงคาน และจังหวัดน่าน ได้รับประกาศเป็นเมือง Top 100 ในส่วนการเตรียมการซึ่งเราได้ทำมาแล้ว อย่างที่เชียงคาน ในการจัดการ การคัดแยกขยะ สถานประกอบการเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วไม่กระทบกับชุมชนได้ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ไปทั้งโลกว่า เชียงคานมีการจัดการอย่างยั่งยืน

ในการแก้ปัญหาแหล่งท่องเที่ยวของตนเองในชุมชน การฟื้นประเพณีใส่บาตรข้าวเหนียว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของเมืองเชียงคาน หลังจากเปิดการท่องเที่ยว ได้มีนักท่องเที่ยวหลากหลายขึ้นมา วัฒนธรรมจากที่อื่นมากระทบวัฒนธรรมที่มีแต่เดิม วันนี้ทางชุมชนได้ลุกขึ้นมาเพื่อจะอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ รวมการใส่บาตรข้าวเหนียวอย่างเดียว ซึ่งเป็นวิถีแบบเชียงคาน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือรับนักท่องเที่ยว หลังกลับมาพื้นฟูกับได้รับความสนในกับนักท่องเที่ยวมีความพึงพอในเกินร้อยละ 80  พึงพอใจทั้งในกิจกรรม และพึงพอใจพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อจะเข้าร่วมในกิจกรรมนี้

แสดงความคิดเห็น - Facebook