นายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการ สำนักงานชลประทานที่ 6 รายงานสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ดังนี้ 1. สถานการณ์น้ำฝนในเขต สชป.6 เมื่อวาน มีฝนตกในพื้นที่ ต.วะตะแบก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ 16.5 มม./ต.ในเมือง อ.เวียงเก่า จ.ขอนแก่น 1.8 มม./ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 1.0 มม./ต.เหล่าอ้อย อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 2.0 มม./ต.แสนสุข อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด 13.8 มม. 2. สภาพน้ำท่า แม่น้ำชีตอนบน E.23 จ.ชัยภูมิ น้ำปกติ Q 89.02 cms. (19.35%) ระดับเพิ่มขึ้น +0.46 ม. /แม่น้ำชีตอนกลาง E.91 จ.มหาสารคาม น้ำปกติ Q 124.60 cms. (14.94%) ระดับลดลง -0.11 ม. /แม่น้ำชีตอนล่าง E.18 จ.ร้อยเอ็ด น้ำปกติ Q 165.89 cms. (16.07) ระดับลดลง -0.07 ม.
3. สภาพน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 3 แห่ง 3.1 เขื่อนอุบลรัตน์ ปริมาณน้ำ 819.52 ล้าน ลบ.ม./33.71% น้ำใช้การ 237.85 ล้าน ลบ.ม./12.86% น้ำไหลเข้า 6.12 ล้าน ลบ.ม. ระบายุ 6.93 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 1,611.78 ล้าน ลบ.ม.(66.29%) 3.2 เขื่อนลำปาว ปริมาณน้ำ 741.69 ล้าน ลบ.ม./37.46% น้ำใช้การ 641.69 ล้าน ลบ.ม./32.41% น้ำไหลเข้า 7.63 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 3.64 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 1,238.31 ล้าน ลบ.ม.(62.54%)3.3 เขื่อนจุฬาภรณ์ ปริมาณน้ำ 113.83 ล้าน ลบ.ม./69.51% น้ำใช้การ 76.61 ล้าน ลบ.ม./60.55% น้ำไหลเข้า 0.80 ล้าน ลบ.ม. ระบาย 1.27 ล้าน ลบ.ม. รับน้ำได้อีก 49.92 ล้าน ลบ.ม.(30.49%)
4. สภาพน้ำอ่างฯขนาดกลาง 69 แห่ง ความจุรวม 440.35 ล้าน ลบ.ม. ความจุวันนี้ 200.77 ล้าน ลบ.ม. (45.59%) มีช่องว่างสามารถรับน้ำได้อีก 239.58 ล้าน ลบ.ม. (54.41%) 4.1 อ่างฯขนาดกลางมีความจุน้อยกว่า 30% จำนวน 20 แห่ง (จ.ชัยภูมิ 3 แห่ง จ.กาฬสินธุ์ 2 แห่ง จ.ขอนแก่น 3 แห่ง จ.มหาสารคาม 5 แห่ง จ.ร้อยเอ็ด 7 แห่ง) 4.2 อ่างฯขนาดกลางมีความจุระหว่าง 31-80% จำนวน 46 แห่ง 4.3 อ่างฯขนาดกลางมีความจุระหว่าง 81-100% จำนวน 1 แห่ง 4.4 อ่างฯขนาดกลางมีความจุมากกว่า 100% จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยเสียว, อ่างฯ ห้วยสังเคียบเขื่อนขนาดกลางมีความมั่นคงแข็งแรง
5. สภาพน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กพระราชดำริ 41 แห่ง ความจุรวม 17.05 ล้าน ลบ.ม. ความจุวันนี้ 10.92 ล้าน ลบ.ม. (64.04%)5.1 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุน้อยกว่า 30% จำนวน 7 แห่ง 5.2 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุระหว่าง 31-80% จำนวน 26 แห่ง 5.3 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุระหว่าง 81-100% จำนวน 6 แห่ง 5.4 อ่างฯขนาดเล็กพระราชดำริ มีความจุมากกว่า 100% จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยสมอทบ, อ่างฯ ห้วยค้อ จ.กาฬสินธุ์
6.1 เขื่อนชนบท เหนือเขื่อน +161.75 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 0.25 ม. (รนก. +162.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 16.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 15.54 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 97.11% Q 8.26 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ 6.2 เขื่อนมหาสารคาม เหนือเขื่อน +146.99 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.19 ม. (รนก. +146.80 ม.รทก.) ความจุ รนก. 24.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 24.95 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.96% Q 117.79 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ 6.3 เขื่อนวังยาง เหนือเขื่อน +136.73 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 0.27 ม. (รนก. +137.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 33.59 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 30.89 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 91.96% Q 82.96 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ 6.4 เขื่อนร้อยเอ็ด เหนือเขื่อน +130.53 ม.รทก. สูงกว่า รนก. 0.53 ม. (รนก. +130.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 16.00 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 19.18 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 119.88% Q 139.56 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ 6.5 เขื่อนยโสธร เหนือเขื่อน +123.77 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 1.73 ม. (รนก. +125.50 ม.รทก.) ความจุ รนก. 18.89 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 10.41 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 53.49% Q 305.06 cms. แนวโน้มระดับน้ำลดลง สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
6.6 เขื่อนธาตุน้อย เหนือเขื่อน +114.94 ม.รทก. ต่ำกว่า รนก. 1.06 ม. (รนก. +116.00 ม.รทก.) ความจุ รนก. 56.10 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำวันนี้ 41.42 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 73.83% Q 194.08 cms. แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มขึ้น สถานการณ์ ปกติ ไม่กระทบตลิ่งลุ่มต่ำ
7. การให้ความช่วยเหลือและเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย 7.1 โครงการชลประทานร้อยเอ็ด เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Video Conference เพื่อติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ รวมถึงรายงานสดสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ลำน้ำยัง ณ บ้านหนองผักตบ ต.เหล่าน้อย อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เนื่องจากอิทธิพลพายุโซนร้อนเจิมปากา ช่วงวันที่ 22-25 กรกฎาคม 2564 ทำให้มีฝนตกหนักกระจายในพื้นที่ลุ่มน้ำยัง โดยเฉพาะตอนบนของลุ่มน้ำ มีฝนสะสม 3 วัน สูงสุดจำนวน 205 มิลลิเมตร ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดปริมาณน้ำท่าไหลลงลำน้ำยังค่อนข้างมากในระยะเวลาสั้น ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว(ประเมินน้ำท่าได้ประมาณ 35 ล้าน ลบ.ม.)
โดยเฉพาะบริเวณ อ.เสลภูมิ ซึ่งมีจุดเฝ้าระวังที่สถานีวัดน้ำ E.92บ้านท่างาม อ.เสลภูมิ โดยมีระดับตลิ่งเฝ้าระวังที่ +8.80 เมตร หรือ ระดับ +133.30 ม.รทก. ลักษณะพื้นที่บริเวณตลิ่งฝั่งซ้ายเป็นที่ลุ่มต่ำ ท่วมซ้ำซากเป็นประจำ 7.2 พื้นที่ลุ่มต่ำฝั่งซ้ายลำน้ำยัง(นอกเขตคันพนัง) ระดับน้ำล้นตลิ่งสูง +0.34 ม. มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ ประมาณ 1,200 ไร่ พื้นที่เกษตรและชุมชน ไม่มีความเสียหาย คาดว่าภายใน 1-2 วัน จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่ม