เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ของจังหวัดเลย เป็นหน่วยงานในสังกัดภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ และภาคประชาชน โดยมีนางสุทิน ผลิตนนท์เกียรติ เป็นประธาน ได้ร่วมลงพื้นที่ตรวจแปลงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอาหารปลอดภัยของจังหวัดเลย เพื่อจะมอบเครื่องหมายโดยใช้ตัวย่อ “LSF” เป็นอักษรกำหนดมาตรฐานอาหาร จากแหล่งผลิต ปลอดจากสารเคมี ไร้สารปนเปื้อน เพื่อให้ประชาชนคนไทเลย และผู้มาเยือนมีอาหารที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยรับประทานได้อย่างมั่นใจ พบว่ามีเกษตรกรกว่า 300 รายเข้าร่วมโครงการ
นางขวัญใจ เกตุกุล เกษตรกรบ้านนาบอน ต.ชัยพฤกษ์ อ.เมือง จ.เลย เผยว่า ตนเป็นเกษตรกรชาวสวน ปลูกผัก และผลไม้ผสมผสาน ในพื้นที่ของ สปก.โดยเริ่มแรกตนพร้อมกับสามี ได้ร่วมกันทำปลูกผักและผลไม้ ใช้ทั้งปุ๋ยเคมี ยาฆ่าหญ้า เพื่อจะเพิ่มผลผลิตและใช้สารเคมีมาหลายปี และเพิ่มจำนวนการใช้มากขึ้นทุกปี พบว่าตนเองป่วยมีหลายโรคหมดค่ารักษาในแต่ละเดือน แต่ละปีขายผลผลิตก็เป็นค่ารักษาหมด จึงคิดหันมาลองทำเกษตรอินทรีย์ พบว่าตนเองร่างกายดีขึ้น โรคร้ายต่างๆก็ได้หายไป ตนจึงอยากจะแนะนำเพื่อนเกษตรกรหันมาทำเกษตรอินทรีย์ แม้ผลผลิตจะลดลง แต่รายได้ถ้าเฉลี่ยก็พอๆกัน เพราะไม่ต้องลงทุนมาก เพื่อไปซื้อสารเคมีที่มีราคาแพง แถมยังเป็นอันตรายทั้งคนปลูกและคนกิน ตนเป็นคนหนึ่งที่เข้าโครงการหวังเผื่อว่า เป็นเครื่องหมายการรันตีว่า ผลผลิตจากไร่ของตนเป็นผลผลิตที่ปลอดจากสารพิษสารเคมี โดยมีสมาชิกหลายคนได้เข้าร่วมโครงการ นางขวัญใจ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า จากที่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ จะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะ ซึ่งกำหนดนโยบายสาธารณะที่มาจากชาวบ้าน และผู้ได้รับผลกระทบกับนโยบายของรัฐ ความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมของสังคม ผู้ได้รับผลกระทบ เป็นผู้กำหนดสร้างนโยบายขึ้นเองแบบ “ล่างขึ้นบน” ซึ่งนโยบายส่วนใหญ่ มาจากภาครัฐ เป็นนโยบายแบบ “บนลงล่าง” ที่อาจสร้างความไม่เป็นธรรมกับชาวบ้าน แต่สำหรับของมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ กลับเป็นนโยบายสาธารณะที่มาจาก “ล่างขึ้นบน” และปรับเป็นเชิงนโยบาย เพื่อจะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีนำไปใช้จริง สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับสังคมได้
ในส่วนตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ของจังหวัดเลย ได้ร่วมกำหนดจากคณะทำงานไดัขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะระบบอาหารปลอดภัย ให้สู่เป็นรูปธรรมการขับเคลื่อน ในหัวข้อ Loei Safety Food .ใช้ตัวย่อ “ LSF ” ซึ่งจะเป็นตรากำหนดมาตรฐานอาหารปลอดภัยจังหวัดเลยขึ้น โดยมีข้าราชการ นักวิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารปลอดภัยของจังหวัดเลยขึ้น โดยใช้กรอบทิศทางจาก “ผู้ปลูก ผู้ปรุง ผู้เปิบ”
ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะ โดยจะใช้เครื่องหมาย “LSF” เป็นตัวการันตี ว่าเป็นสินค้า อาหาร ที่ปลอดจากสารเคมี ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนคนไทเลย และนักท่องเที่ยวมีอาหารที่คุณภาพ มีความปลอดภัยรับประทานได้อย่างมั่นใจ แม้ภาครัฐเองจะมีมาตรฐานการควบคุมอาหารปลอดภัย ต่อการบริโภคของประชาชนอยู่แล้ว โดยใช้มาตรฐาน GAP แต่มีข้อจำกัดต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน แต่ในจังหวัดเลยเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงอยู่ที่ ป่าเสื่อมโทรม ที่ สปก. จึงไม่ได้รับสิทธิได้รับมาตรฐาน GAP ทางสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ของจังหวัดเลย จึงได้กำหนดนโยบายสาธารณะขึ้นเพื่อรองรับเกษตรกร ทำเกษตรนอกโฉนดและ นส.3 ดังนั้น “ LFS” จะเป็นตรามาตรฐานอาหารปลอดภัยทางเลือกของเกษตรอีกทางทางหนึ่ง ที่รับรองผลผลิตปลอดจากสารเคมี