ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงพยาบาลเลย ได้ติดคัทเอาท์ป้ายขนาดใหญ่ พร้อมกับชูป้ายสนับสนุน ยกเลิก การใช้ 3 สารเคมีอันตราย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ไกลโฟเซต เพราะส่งผลให้เกิดโรคมะเร็ง โรคเนื้อเน่า เด็กจะมีการพัฒนาช้า สารพิษตกค้างในผัก ผลไม้ และสัตว์น้ำ รักโลกรักชีวิต หยุดใช้สารเคมี หนุนนโยบายรัฐมนตรีสาธารณสุข ส่วนสมัชชาสุขภาพจังหวัดเลย ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด นำเกษตรกรจดเอ็มโอยู ไม่ใช้สารเคมี
นายแพทย์ชุมนุม วิทยานันท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลย เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สารทั้ง 3 สารเคมีอันตราย คลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโฟเซต ที่นำมาใช้ในด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นสารพิษ ซึ่งเป็นที่ร้ายแรงและที่สำคัญสารพวกนี้ตกค้างอยู่ในแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินและแหล่งน้ำ สารพิษเหล่านนี้มีโอกาสที่จะปนเปื้อนมากับอาหารที่เรารับประทาน กระทรวงสาธาณสุขโดย ท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสาธารณสุขได้มีนโยบายรณรงค์ให้มีการยกเลิก อนุญาตไม่ให้มีการจำหน่ายของสารพิษ 3 ชนิดนี้
และการใช้สารพิษพวกนี้ยังได้มีผลการวิจัย อย่างแม่ที่คลอดลูกออกมาใหม่ๆ ได้เอาขี้เทาลูกไปตรวจ พบว่ามีสารพาราควอตอยู่ในขี้เทานั้น แสดงว่าได้มีการบริโภคสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกาย ซึ่งทั้งนี้อาจจะเป็นสาเหตุเด็กไทยส่งผลให้เด็กมีการพัฒนาที่ล่าช้า และการใช้สารเคมีพวกนี้มากๆจะผลกระทบ เช่นคนที่เป็นโรคผิวหนัง เมื่อถูกสัมผัสกับสารพวกนี้ทำให้เกิดเป็นโรคหนังเน่า เนื้อเน่า ซึ่งโรงพยาบาลเลย และโรงพยาบาลในจังหวัดได้มีผู้ป่วยและมีสถิติพบคนป่วยเป็นโรคเนื้อเน่าสูงสุดติดกัน 3 ปีซ้อน
ส่วนด้านนางสุทิน ผลิตนนท์เกียรติ ประธานสมัชชาสุขภาพจังหวัดเลย เผยว่า ขณะนี้ทางสัชชาสุขภาพจังหวัดเลย ได้ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดร่วมกว่า 100 กลุ่ม ทั้ง 14 อำเภอ ได้ขับเคลื่อนนโยบายอาหารปลอดภัย โดยได้จดเอ็มโอยู ร่วมกับจังหวัดเลย ขับเคลื่อนเป็นนโยบายวาระการพัฒนาของจังหวัดเลย
โดยมีข้อตกลงเกษตกรร่วมกันงดใช้สารเคมี ซึ่งตามมติของสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ของจังหวัดเลย ไดัขับเคลื่อน นโยบายสาธารณะระบบอาหารปลอดภัย ให้สู่เป็นรูปธรรมการขับเคลื่อน ในหัวข้อ Loei Safety Food .ใช้ตัวย่อ “ LSF ” ซึ่งจะเป็นตรากำหนดมาตรฐานอาหารปลอดภัยจังหวัดเลยขึ้น โดยมีข้าราชการ นักวิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารปลอดภัยของจังหวัดเลยขึ้น โดยใช้กรอบทิศทางจาก “เพื่อนปลูก เพื่อนปรุง เพื่อนเปิบ” ซึ่งเป็นนโยบายสาธารณะ โดยจะใช้เครื่องหมาย “LSF” เป็นตัวการันตี ว่าเป็นสินค้า อาหาร ที่ปลอดจากสารเคมี ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนคนไทเลย และนักท่องเที่ยวมีอาหารที่คุณภาพ มีความปลอดภัยรับประทานได้อย่างมั่นใจ โดยมุ่งมั่นให้ยกเลิก การใช้ 3 สารเคมีอันตราย