ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันนี้ 26 กันยายน 2563 ที่ณ สนามกีฬาโรงเรียนวังโพนงาม ตำบลโคกงาม อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ นายก อบจ.เลย พร้อมกับประชาชน อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ อำเภอนาแห้วกว่า 3,000 คน ให้การต้อนรับ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดซอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวมหาดไทย และ คณะลงพื้นที่ เปิดโครงการนำยางพารามาใช้ เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน
และการสาธิตกระบวนการผลิตยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (แบริเออร์ RFB) และเสาหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) ที่สามารถลดแรงปะทะที่เกิดจากการชน ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนห้องถนน โดยกำแพงคอนกรีตและเสาหลักนำทาง มีสัดส่วนการใช้น้ำยางพารา เป็นส่วนผสมจำนวนมาก เป็นการช่วยเหลือที่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา สร้างรายได้เพิ่มขึ้นโดยตรงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราชาวจังหวัดเลย ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปลูกยางพาราเป็นจำนวนมากในลำดับตันๆ ของประเทศ
นายอนุทิน กล่าวว่า จะดูแลให้โครงการนำยางพารามาใช้เพื่อความปลอดภัยทางถนน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสร้างเสถียรภาพราคายางพาราในระดับที่เหมาะสม เมื่อก่อนเขาว่ายางแผ่นดิบ 3 กิโลกรัม 100 บาท แต่ขณะนี้ 3 กิโลกรัม จะขึ้นเป็น 200 บาทแล้ว ในอนาคตหากเปิดประเทศได้มากขึ้นแล้ว มีการติดต่อค้าขายกัน ราคายางพาราอาจจะขึ้นสูงไปอีก เพราะสิ่งเหล่านี้เราเต็มใจทำให้กับพี่น้องทุกคน
ด้าน นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตและหลักนำทางยางธรรมชาติสามารถที่จะช่วยลดแรงปะทะที่เกิดจากการชน ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนน ประกอบกับมีสัดส่วนการใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสมจำนวนมาก เป็นการช่วยเหลือพี่น้อง เกษตรกรชาวสวนยางพารา สร้างรายได้โดยตรงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท จ.เลย เป็นจังหวัดที่ปลูกยางพาราเป็นอันดับต้นๆ ของภาคอีสาน ราคายางก้อนถ้วยขณะนี้อยู่ที่ราคา 28 บาทต่อกิโลกรัม ครม.ได้อนุมัติงบประมาณระยะแรก 2.7 พันล้านบาท ต้องทำให้เสร็ภายในเดือน พฤศจิกายน 2563
โดยปัจจุบันจังหวัดเลย มีสหกรณ์ผู้ปลูกยางพาราจำนวน 19 แห่ง มีสมาชิกจำนวน 3,115 ราย ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่จะเป็นยางก้อนถ้วย และสหกรณ์นำไปแปรรูปเป็นยางเครป ปัจจุบันสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ได้เริ่มผลิตแผ่นยางธรรมชาติ ครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) และผลิตหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) แล้ว จำนวน 7 แห่ง ทั้งนี้ จะมีการขยายผลให้สหกรณ์ / กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ให้มีความสามารถในการผลิตได้เพิ่มมากขึ้นในระยะที่ 2 ที่จะดำเนินการ ในปี พ.ศ. 2564 – 2565 ต่อไป
ทั้งนี้จากการคาดการณ์ความสำเร็จของโครงการฯในระยะที่ 1 นี้ จะสามารถรวบรวมน้ำยางสดจากเกษตรกได้ 34,000 ตัน คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับประมาณ 952 ล้านบาท และเมื่อคิดตลอดโครงการฯ ถึงงบประมาณ 2565 จะรวบรวมน้ำยางสดจากเกษตรกรได้ 1 ล้านตัน คิดเป็นเงินที่เกษตรกรได้รับ 30,100 ล้านบาท ซึ่งจะสร้างเสถียรภาพด้านราคายางพาราและสร้างความเชื่อมั่นในอาชีพแก่ ชาวสวนยางพาราได้เป็นอย่างดี